สอนติดฟิล์มกรองแสงอาคาร: 5 ขั้นตอนสำหรับมือใหม่ (ง่ายๆ)

วิธีติดฟิล์มอาคาร

ในวันนี้เราขอชวนคุณมาทดลองติดฟิล์มกระจกอาคารด้วยตนเองกันครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบ้านที่มีกระจกรอบบ้าน เราสามารถติดฟิล์มกระจกบ้านได้ด้วยตัวเองเพื่อให้บ้านเย็นสบาย และช่วยกรองแสงแดดเพื่อลดการใช้ค่าพลังงานของเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งยังประหยัดค่าจ้างช่างติดอีกด้วย

การปิดผ้าม่านตลอดเวลาอาจทำให้รู้สึกอึดอัด เราไม่จำเป็นต้องพึ่งช่างหรือคนอื่น หลายคนอาจจะสงสัยว่าจะมีวิธีใดที่สามารถทำให้บ้านเย็นสบายขึ้น และประหยัดพลังงานได้มากขึ้น นั้นก็คือการติดตั้งฟิล์มกรองแสงด้วยตนเองนั่นเอง ทำตามได้ไม่ยาก

สนใจซื้อฟิล์มกรองแสงราคาถูก โทรเลย

heatgard film facebook

heatgard line

heatgard call

มีอะไรกันบ้าง เรามาดูกันเลยครับ

ขั้นตอนที่ 1: การเตรียมอุปกรณ์

การเตรียมอุปกรณ์ติดฟิล์มอาคาร

อุปกรณ์ติดฟิล์มกรองแสง เราสามารถซื้อได้ตามร้านติดฟิล์มทั่วๆไป

  1. ฟิล์มกรองแสง: เลือกฟิล์มที่เหมาะสมกับความเข้มของแสงที่คุณต้องการให้กระจกป้องกัน มีหลายรูปแบบให้เลือกตามความต้องการ เช่น ฟิล์มกรองแสงฉาบโลหะ หรือ ฟิล์มเซรามิค เป็นต้น
  2. เกรียงสำหรับรีดตัวฟิล์ม: ใช้เกรียงในการรีดตัวฟิล์มเพื่อให้เรียบเนียนและแนบชิดกับพื้นผิวกระจก หากไม่มีเกรียงสามารถใช้บัตรแข็งหรือไม้บรรทัดที่ไม่คมเกินไปจนทำลายฟิล์มทดแทนได้
  3. คัตเตอร์สำหรับตัดแผ่นฟิล์ม: คัตเตอร์ใบสเตนเลสเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับตัดฟิล์มกระจก ไม่ควรใช้คัตเตอร์ใบเหล็ก
  4. ใบมีดขูดกระจก: ใช้ใบมีดที่ทำจากอลูมิเนียมเพื่อขูดขีดบนผิวกระจก เพื่อล้างฝุ่นออก
  5. ยางรีดน้ำกระจก: ใช้ยางรีดเพื่อกำจัดน้ำที่อยู่ระหว่างฟิล์มและกระจก
  6. น้ำยาติดฟิล์ม: เลือกใช้น้ำยาติดฟิล์มที่เหมาะกับฟิล์มและกระจก เพื่อให้ฟิล์มติดแน่นและไม่มีรอยอากาศระหว่างพื้นผิว หากไม่มีน้ำยาติดฟิล์มให้ใช้แชมพูดเด็กผสมน้ำแทน
  7. น้ำยาเช็ดกระจก: ใช้น้ำยาเช็ดกระจกเพื่อทำความสะอาดผิวกระจกก่อนและหลังติดฟิล์ม เพื่อให้ผลลัพธ์ที่สะอาดและใส
  8. ฟ็อกกี้: ใช้ฟ็อกกี้เพื่อพ้นน้ำยาติดตั้งฟิล์มให้ทั่วกระจก

ขั้นตอนที่ 2: การวัดและทำเครื่องหมายบนแผ่นฟิล์ม

วัดและทำเครื่องหมายบนแผ่นฟิล์ม

ใช้ตลับเมตรวัดขนาดของแผ่นกระจกที่คุณต้องการติดตั้งฟิล์ม วัดเป็นหน่วยนิ้ว หลังจากนั้นทำเครื่องหมายบนฟิล์มกรองแสงด้วยดินสอหรือปากกา หลังจากนั้นตัดฟิล์มกรองแสงให้มีขนาดเท่ากับที่เราวัดไว้ โดยวัดพื้นที่เผื่อไปประมาณ 1 นิ้ว เพิ่มลงในทุกด้านเพื่อให้ง่ายต่อการปรับขนาดในภายหลัง และตัดเศษฟิล์มทิ้ง

ขั้นตอนที่ 3: การทำความสะอาดกระจก

การทำความสะอาดกระจก

ใช้น้ำยาเช็ดกระจกและน้ำทำความสะอาดกระจกให้สะอาด และใบมีดโกนขูดสิ่งสกปรกออกให้หมด ทำให้ฝุ่นในแผ่นกระจกหลุดออกให้หมด การทำความสะอาดกระจกเป็นสิ่งที่สำคัญมากเนื่องจากถ้ากระจกไม่สะอาดอาจจะทำให้ฟิล์มกรองแสงที่ติดไปมีฝุ่นติดอยู่ได้ ดูแล้วไม่สวยงาม และไม่สามารถแก้ไขได้ในภายหลัง

ขั้นตอนที่ 4: การติดตั้งฟิล์มกรองแสง

การติดตั้งฟิล์มลงบนกระจก

เริ่มต้นด้วยการพ่นน้ำยาติดตั้งฟิล์มกรองแสงกระจก คุณควรพ่นน้ำยาติดตั้งลงบนกระจกให้ทั่วๆ เพื่อที่จะให้ฟิล์มลื่นและสามารถปรับไปมาได้บนกระจกได้ หลังจากนั้น ลอกไลเนอร์บนแผ่นฟิล์มออก แล้วนำฟิล์มกรองแสงมาติดบนกระจก หลังจากติดแล้ว เราสามารถใช้เกรียง รีดน้ำในฟิล์มออกให้หมด

ขั้นตอนที่ 5: การปรับขนาดฟิล์มให้เข้ากับกระจก และตัดแต่งขอบฟิล์ม

ปรับขนาดฟิล์มให้เข้ากับกระจก

เมื่อฟิล์มติดลงบนกระจกแล้ว ให้ใช้มีดคัตเตอร์ตัดขอบฟิล์มที่เกินออก ทำให้แน่ใจว่าฟิล์มกรองแสงพอดีกับแผ่นกระจก หลังจากนั้นทิ้งให้ฟิล์มกรองแสงแห้งโดยไม่ควรไปขยับอีกรอบ หลังจากติดฟิล์มแล้วยังไม่ควรเช็ดทำความสะอาดทันที เนื่องจากฟิล์มอาจจะเลื่อนได้ 

ฟิล์มกรองแสง มีกี่ประเภท แล้วเราควรเลือกแบบไหนดี?

ตามการใช้งานทั่วไป ฟิล์มติดกระจกรถยนต์และฟิล์มติดกระจกบ้าน มีหลายประเภท ซึ่งแตกต่างกันไปตามความเข้มข้นของสี การสะท้อนแสง และกระบวนการผลิต โดยมีหลายประเภท ดังนี้

  1. ฟิล์มย้อมสี (Dye Film): ฟิล์มกรองแสงประเภทนี้ผลิตด้วยกระบวนการที่ใช้สีย้อมย้อมลงบนเนื้อพลาสติก ผลทำให้ฟิล์มมีสีดำเข้ม สามารถกรองแสงสว่างได้ แต่สามารถลดความร้อนได้เพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันรังสี UV ได้บ้าง เมื่อใช้งานไปในระยะเวลานานฟิล์มจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง เนื่องจากผลกระทบของรังสี UV
  2. ฟิล์มรถยนต์แบบฉาบไอโลหะ (Metallized Evaporation Window Films): ฟิล์มกรองแสงประเภทนี้ ฟิล์มถูกเคลือบด้วยไอโลหะ ทำให้สามารถป้องกันรังสีความร้อนได้ดี มีผิวที่เงาและสะท้อนแสง มอบความเป็นส่วนตัว
  3. ฟิล์มรถยนต์แบบเคลือบอนุภาคโลหะ (Metal Sputtering Window Films): ฟิล์มประเภทนี้ผลิตโดยใช้ห้องสุญญากาศพิเศษในการเคลือบโลหะลงบนฟิล์ม ทำให้ฟิล์มมีลักษณะที่เงาน้อย ใส และสามารถป้องกันรังสีความร้อนได้ดี
  4. ฟิล์มรถยนต์นาโน (Nano Window Films): ฟิล์มประเภทนี้ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ใช้อนุภาคนาโนเคลือบลงบนฟิล์ม ทำให้ฟิล์มสามารถป้องกันรังสีความร้อนได้อย่างยอดเยี่ยม สามารถป้องกันรังสี UV 99% มีความใส ไม่สะท้อนแสง และมีทัศนวิสัยที่ดี

ดังนั้น การเลือกฟิล์มกรองแสงที่เหมาะสม ควรพิจารณาจากความต้องการ และงบประมาณของผู้ใช้งานเอง เพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องการครับ

สรุป

การติดฟิล์มกระจกบ้านด้วยตนเองไม่ได้ยากเกินไป และคุณสามารถปรับใช้เทคนิคเบื้องต้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี ประหยัดงบประมาณ สามารถทำได้เวลาว่าง แต่ถ้าหากคุณไม่มั่นใจในการทำเอง คุณสามารถปรึกษาและใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญด้านการติดฟิล์มอาคาร Heatgard  ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการติดฟิล์มอาคาร ด้วยการทำงานระดับมืออาชีพตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงสุดท้าย คุณสามารถมั่นใจได้ในเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของฟิล์มที่ใช้ โดยฟิล์มเซรามิคคุณภาพสูง เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปแน่นอน

อยากให้ช่างมืออาชีพติดตั้งฟิล์มกรองแสง ติดต่อเราสิครับ

heatgard film facebook

heatgard line

heatgard call

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *